ว่าที่ทูตสหรัฐฯประจำไทย ตั้งปณิธาน ระงับความช่วยเหลือจนกว่าไทยจะเป็นประชาธิปไตย

14351441831435144214lว่าที่ทูตสหรัฐฯประจำไทย ตั้งปณิธาน ระงับความช่วยเหลือจนกว่าไทยจะเป็นประชาธิปไตย

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ

นายเกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่างพ.ศ. 2555–2557 ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้าให้คำแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา

“ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทยถลำลึกลงไปอย่างมาก นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้นแต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย” พร้อมเน้นย้ำว่าสหรัฐฯยึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตยและไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้

“การที่สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือนคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบนั้นมิได้หมายความว่าสหรัฐฯ มุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญหรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศ

หากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่ง ผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธานด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย”

Official Testimony of Glyn Davies Nominee for Ambassador to The Kingdom of Thailand

Senate Foreign Relations Committee
June 23, 2015

Mr. Chairman and Members of the Committee,

Thank you for the opportunity to appear before you today. I am honored to be President Obama’s nominee to serve as the United States Ambassador to the Kingdom of Thailand. I thank the President for the confidence he has placed in me by putting me forward to the Senate for consideration, and thank Secretary of State Kerry for his strong support. I am grateful to all the members of the Committee for this chance to speak to my qualifications and intentions.

I joined the Foreign Service in 1980, and have sought throughout my career to develop the experience and skills to lead interagency colleagues in strengthening our country’s security and advancing our prosperity. If confirmed, serving as Chief of Mission in Bangkok would be the culmination of that 36-year effort.

My family is my greatest strength. I would like to express my love and gratitude to my wife Jackie, daughters Ashley and Teddie, son-in-law Chapin and granddaughters Josie and Cybbie.

Thailand and the United States share a long and enduring friendship. Thailand is one of our oldest treaty allies in Asia. We collaborate on a remarkably wide range of issues, including advancing regional security, expanding trade and investment, enhancing public health, assisting refugees and displaced persons, countering illegal narcotics and wildlife trafficking, fighting transnational crime, and protecting the environment. Despite the limitations we have had to impose on aspects of our engagement after Thailand’s May 2014 military coup, few bilateral relationships are as broad and yield as many benefits to both countries.

Over the past decade, Thailand’s internal political divide has dramatically deepened, polarizing not just the political class but society as a whole. We have not taken sides in this debate, but have stressed our unwavering support for democratic principles and our commitment to our historic friendship with the Thai people.

Since the coup, the United States has consistently underscored both publicly and privately our concerns about the disruption of Thailand’s democratic traditions and accompanying restrictions on civil liberties, including freedom of expression and peaceful assembly. We maintain that democracy can only emerge when the Thai people freely and fairly elect their own representatives and leaders. As required by law, the United States has suspended certain assistance until a democratically elected civilian government takes office. When that occurs, our bilateral relationship can return to its fullest capacity.

Our call for the restoration of civilian government, a return to democracy, and full respect for human rights, including freedom of expression and of peaceful assembly, does not mean we advocate for a specific constitutional or political blueprint. Those are questions for the Thai people to decide through an inclusive political process that allows for an open and robust debate about the country’s political future. If confirmed, I will continue to support the democratic aspirations of the Thai people.

Mindful of our long-term strategic interests, we nonetheless remain committed to maintaining our security alliance. Thai and U.S. troops fought side-by-side during the Vietnam and Korean wars, and together we hold many bilateral and multilateral exercises, engagements, and exchanges, including Asia’s largest multilateral military gathering, Cobra Gold. These interactions provide invaluable opportunities to increase coordination and cooperation, including on providing humanitarian assistance and responding to natural disasters.

The United States is Thailand’s third largest trading partner, and American companies are major investors in Thailand. Our Embassy in Bangkok, supported by our Consulate General in Chiang Mai, is a regional hub for the U.S. government and remains one of our largest missions in the world. We collaborate extensively on public health issues, a cornerstone of our bilateral cooperation, including promising research on a possible vaccine for HIV/AIDS.

Our people-to-people ties are strong and growing. Educational linkages help thousands of Thai and American students study in each other’s countries. The Peace Corps has deployed volunteers across Thailand for over 50 years. The American people have long admired and respected Thailand’s rich traditions and culture. His Majesty King Bhumibol Adulyadej, the only monarch ever born in the United States, has led his people with compassion and integrity for almost 70 years and has been a tireless advocate for the advancement of the Thai people.

Thailand is a founding member and a leading voice in all of the region’s multilateral institutions, including the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), the East Asia Summit, the AsiaPacific Economic Cooperation (APEC) forum, and the Lower Mekong Initiative (LMI). The United States will continue to work with Thailand and through the region’s institutions to further our mutual goals of stimulating trade and economic growth and promoting regional security.

We work with the Thai government to strengthen its efforts to address the country’s human trafficking problem. We also support civil society organizations that help identify and protect victims and promote the rights of migrant workers. If confirmed, I will encourage Thailand to take robust action to combat human trafficking.

For many years, Thailand has been an important partner on humanitarian issues. It hosted hundreds of thousands of refugees after the Vietnam War. Today, Thailand shelters some 110,000 Burmese refugees and asylum seekers in nine refugee camps along the Thailand-Burma border, as well as the Rohingya and vulnerable populations from some 50 nationalities. Thailand hosted a regional conference in May on the migrant crisis in the Andaman Sea and Bay of Bengal. We continue to work closely with Thailand and other affected countries to address the sensitive issue of irregular migration with a priority on saving lives and urging humane treatment of vulnerable migrants. We also work closely with the Thai to respond to natural disasters, including the devastating 2008 cyclone in Burma and the earthquakes in Nepal earlier this year.

We care deeply about our bilateral relationship and about the people of Thailand. If confirmed, I will work closely with this committee to advance our broad range of interests in Thailand. While we will continue to do much together, we look forward to its return to democracy so that our joint efforts can reach their fullest potential. We believe the Kingdom of Thailand can find reconciliation, establish democracy, and fulfill its historic destiny as a great and free nation.

Thank you again for considering my nomination. I look forward to answering your questions.

—————————————————————

คำแถลงของนาย Glyn Davies
ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
ต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา
วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กราบเรียนท่านประธานและสมาชิกคณะกรรมาธิการ

ขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมมาแถลงต่อหน้าทุกท่านในวันนี้  ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีโอบามาให้เข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย  ผมขอขอบคุณท่านประธานาธิบดีที่ไว้วางใจในตัวผมและเสนอชื่อผมให้วุฒิสภาพิจารณา อีกทั้ง ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแคร์รีที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี  รวมถึงขอบคุณสมาชิกคณะกรรมาธิการทุกท่านที่เปิดโอกาสให้ผมได้ชี้แจงคุณสมบัติและเจตนารมณ์ของผม

ผมเริ่มรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2523  และพยายามสั่งสมทักษะประสบการณ์มาตลอดช่วงชีวิตการทำงานเพื่อเป็นผู้นำการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานในการเสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มพูนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ  และหากคณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยจะเป็นจุดสูงสุดของความพยายามตลอด 36 ปีที่ผ่านมานี้

ครอบครัวคือพลังที่เข้มแข็งที่สุดของผม  ผมขอกล่าวถึงครอบครัวของผมด้วยความรักและความรู้สึกขอบคุณต่อทั้งแจ็คกี้ภรรยาของผม แอชลีย์และเท็ดดี้ลูกสาวของผม เชปินผู้เป็นลูกเขย รวมถึงโจซีและซิบบี้หลานสาวของผม

ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาธำรงมิตรภาพร่วมกันมายาวนาน  ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในเอเชีย  ประเทศเราทั้งสองทำงานร่วมกันในหลากหลายประเด็น ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาค ขยายการค้าการลงทุน พัฒนางานด้านสาธารณสุข ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น ต่อต้านสิ่งเสพติดผิดกฎหมายและการลักลอบค้าสัตว์ป่า ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทยหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวางและก่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทั้งสองประเทศอย่างที่ความสัมพันธ์อื่นน้อยนักจะเทียบเคียงได้

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทยถลำลึกลงไปอย่างมาก นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้นแต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย  สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้ แต่ขอเน้นย้ำว่า สหรัฐอเมริกายึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตยและมั่นคงในพันธะสัญญาของเราต่อมิตรภาพที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้กับประชาชนชาวไทย

นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร สหรัฐอเมริกาเน้นย้ำตลอดมาทั้งในเวทีสาธารณะและการเจรจาส่วนตัวถึงข้อกังวลของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยได้หยุดชะงักลง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพของพลเมืองที่ตามมา อันได้แก่ เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ  สหรัฐฯ ยืนยันว่า ประชาธิปไตยจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนชาวไทยเลือกผู้แทนและผู้นำของตนเองได้อย่างอิสระและอย่างเท่าเทียมกัน   สหรัฐอเมริกาได้ระงับความช่วยเหลือบางประการตามที่กฎหมายกำหนด จนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย  และเมื่อไทยมีรัฐบาลดังกล่าวแล้ว ประเทศเราทั้งสองจึงจะสามารถกลับไปสู่การมีความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีได้อย่างเต็มรูปแบบ

การที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือน คืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบนั้นมิได้หมายความว่า สหรัฐฯ มุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญหรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ  สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศ   หากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่ง ผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธานด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย

อย่างไรก็ดี ด้วยตระหนักถึงผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของเรา สหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นในการรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคงของเรา  กองทัพไทยและกองทัพสหรัฐฯ ได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ในสงครามเวียดนามและสงครามเกาหลี อีกทั้งได้ร่วมกันจัดการฝึกซ้อม กิจกรรมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางทหารทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคีจำนวนมาก อันรวมถึงการฝึกคอบร้าโกลด์ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย  ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้สร้างโอกาสอันล้ำค่าในการขยายการประสานงานและความร่วมมือ อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและปฏิบัติการตอบสนองต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สหรัฐอเมริกาเป็นเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย และบริษัทสัญชาติอเมริกันก็เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทย  สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถานกงสุลใหญ่ของเราในเชียงใหม่นั้นเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคสำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ และยังคงเป็นหนึ่งในสถานทูตที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเรา  สหรัฐฯ กับไทยทำงานร่วมกันอย่างกว้างขวางในด้านสาธารณสุขอันเป็นหลักสำคัญของความร่วมมือระดับทวิภาคีของเรา ซึ่งได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะประสบความสำเร็จ

ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของประเทศเราทั้งสองมีความแข็งแกร่งและขยายมากขึ้นเรื่อยๆ  การเชื่อมโยงทางการศึกษาได้ช่วยให้นักเรียนนักศึกษาชาวไทยและชาวอเมริกันหลายพันคนได้ศึกษาต่อในประเทศของอีกฝ่าย  หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาได้ส่งอาสาสมัครไปทั่วประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี  ชาวอเมริกันชื่นชมและเคารพประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลายของไทย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกาได้ทรงดูแลพสกณิกรของพระองค์ด้วยพระเมตตาและทศพิธราชธรรมเป็นเวลาเกือบ 70 ปี และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของประชาชนไทยมาโดยตลอดอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งและเป็นเสียงหลักขององค์กรพหุภาคีต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) และข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (LMI)  สหรัฐอเมริกาจะยังคงร่วมมือกับไทยและดำเนินงานผ่านองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้เพื่อผลักดันเป้าหมายที่มีร่วมกันในการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางการค้าและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการเสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาค

สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยเพื่อยกระดับความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของไทย นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมที่ช่วยดำเนินการระบุอัตลักษณ์และปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว  หากผมได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง ผมจะส่งเสริมให้ไทยดำเนินมาตรการอย่างเข้มแข็งในการปราบปรามการค้ามนุษย์

ประเทศไทยเป็นประเทศคู่ความร่วมมือที่สำคัญของสหรัฐฯ ในด้านกิจการมนุษยธรรมมาหลายปีแล้ว  ไทยได้สร้างค่ายอพยพให้แก่ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนหลังสงครามเวียดนาม และในปัจจุบัน ประเทศไทยยังให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิงชาวพม่ากว่า 110,000 คนในค่ายผู้อพยพเก้าแห่งตามแนวชายแดนไทย-พม่า รวมถึงชาวโรฮีนจาและประชากรกลุ่มเสี่ยงจากประมาณ 50 ชนชาติ  นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยวิกฤตการย้ายถิ่นในทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล  สหรัฐฯ ยังคงร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับไทยและประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบเพื่อแก้ไขปัญหาที่ละเอียดอ่อนด้านการอพยพที่ผิดปกตินี้ โดยมีเป้าหมายหลักคือ ช่วยรักษาชีวิตมนุษย์และเรียกร้องให้ปฏิบัติต่อผู้อพยพกลุ่มเสี่ยงอย่างมีมนุษยธรรม  อีกทั้ง สหรัฐฯ ยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับไทยในด้านการรับมือกับภัยธรรมชาติ อาทิ พายุไซโคลนที่สร้างความเสียหายอย่างมากในพม่าเมื่อปีพ.ศ. 2551 และแผ่นดินไหวในเนปาลเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

สหรัฐฯ ใส่ใจอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีกับไทยและต่อชาวไทย  หากผมได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง ผมจะร่วมมือกับคณะกรรมาธิการฯ อย่างใกล้ชิดในการส่งเสริมผลประโยชน์ของเราในไทยอันครอบคลุมหลากหลายด้าน  ในขณะที่เราจะร่วมมือกันทำงานต่อไปอย่างมีประสิทธิผล เราก็หวังจะเห็นไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศเราทั้งสองจะดำเนินก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัย  สหรัฐฯ เชื่อว่า ราชอาณาจักรไทยจะสามารถสร้างความปรองดอง สถาปนาประชาธิปไตย และเติมเต็มโชคชะตาบนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และเสรี

ขอขอบคุณอีกครั้งที่กรุณาพิจารณาการเสนอชื่อผม   ผมยินดีตอบคำถามของทุกท่านครับ