รายการ สุขเสรีไทย โดย สุนัย จุลพงศธร
โต้ประยุทธ์ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และเรื่องอื่นๆ
ช่วยกันส่งต่อให้พ่อแม่พี่น้องของเราได้ชมกันมากๆ
เพราะยังมีคนไทยจำนวนมาก มีความเชื่อที่ผิดๆ และหลงผิด
สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ
รายการ สุขเสรีไทย โดย สุนัย จุลพงศธร
โต้ประยุทธ์ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และเรื่องอื่นๆ
ช่วยกันส่งต่อให้พ่อแม่พี่น้องของเราได้ชมกันมากๆ
เพราะยังมีคนไทยจำนวนมาก มีความเชื่อที่ผิดๆ และหลงผิด
สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ
สวัสดีพี่น้อง ผู้มุ่งมั่นเปลี่ยนระบอบ ทุกท่าน
จากการได้พูดคุยสรุปผลการปฏิบัติการ
“รับพี่เปียกลับแผ่นดินของประชาชน”
มีความเห็นว่า… ตอนนี้ พี่น้องต้องเร่งสร้างเครือข่ายในไลน์ คนที่กล้าออกไปวันนี้ที่สนามบิน ก็มีจำนวนมาก จะได้ประสานกัน และมีกำลังใจต่อสู้ เพราะเราเห็นกันในไลน์ ถ้าเราขยายเครือข่ายได้กว้างกว่านี้ รับรอง พี่น้องต้องกลับมาฮึกเหิมอีกครั้งแน่นอน
พี่น้อง ต้องสร้างปรากฏการณ์ อีกครั้ง
วันเผาศพพี่เปีย ต้องมาให้กันเยอะๆ สัก 50,000 คนให้ได้
มีเวลา 7 วัน จะสื่อสารถึงพี่น้องเราได้อย่างไร ว่าต้องมาให้ได้ 50,000 วันที่ 19 ตุลาคม 2557 ณ วัดบางไผ่ พระอารามหลวง จังหวัดนนทบุรี
งานเผาศพ ไม่ผิด กม.ข้อไหนทั้งสิ้น ทั้งยังเป็นจารีตประเพณี ใครจะละเมิดมิได้
ขอเพียง พี่น้องต้องมาให้ได้ ให้ถึง 50,000 ต้องเร่งเชื่อมต่อทางไลน์ เราทำเองไม่ผ่านแกนนำ นปช. ไม่มีค่ารถ ไม่ยากนะครับการติดต่อทางไลน์ ต้องลองดู เพราะถ้ายังพึ่งเงิน ไม่มีทางชนะ
ถ้าทำแล้ว ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น
แต่ถ้าวิ่งหาค่ารถให้พี่น้อง ไม่มีวันได้นักสู้ตัวจริง
ถึงเวลาเช็คชื่อกลุ่ม ว่าเรามีครบทุกจังหวัดหรือยัง จว.ไหน จะมาได้เท่าไหร่
ก่อนอื่น แต่ละคน ต้องลิสต์ชื่อกลุ่มไลน์ ที่เราประสานได้ ว่าครอบคลุมกี่ จว.
เราตั้งเป้า 50,000 แต่เราไม่ต้องทำยอด 50,000
เพราะคนที่มีกำลังมาอยู่แล้ว ก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 20,000
งานไม้หนึ่ง คนมาเอง ก็นับหมื่น
ตอนนี้ ต้องสร้างเครือข่ายให้ถึง 10,000
ในไลน์ตอนนี้ น่าจะมีแล้ว 3,000 แต่จากที่คนออกไปสนามบิน 200 หย่อนๆ การรณรงค์ทางไลน์ มีผลสร้าง “ความมั่นใจ” ให้คนได้จริงๆ เพราะถ้าไม่รณรงค์ทางไลน์ อาจจะไม่มีใครไปเลย
พี่น้อง ต้องสร้างปรากฏการณ์ อีกครั้ง!
วันนี้ใครไปงานรดน้ำศพ ต้องเพิ่มเพื่อนไลน์
พวกเรา 1 คน ไปร่วมงานแล้ว ขอให้เพิ่มเพื่อนให้ได้สัก 10 คน
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13 ตุลาคม 2557
จรัล ดิษฐาภิชัย และพี่น้องชาวไทยผู้รักประชาธิปไตยในยุโรป ร่วมไว้อาลัยให้กับท่าน พ.อ.ดร. อภิวันท์ วิริยะชัย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2557
บทเรียน 6 ตุลา 2519
ตั้งแต่ตี 1 ของวันที่ 6 ตุลาคม 2519
ย่างเข้าวันที่6ตุลาคม วิทยุยานเกราะรายงานข่าวว่า กองกำลังตำรวจตระเวณชายแดนเคลื่อนเข้าพิพิธภัณท์สถานแห่งชาติ เสียงกลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้านดังมากยิ่งขึ้น หน่วยรักษาความปลอดภัยรวมกันไปเฝ้าประตูด้านหอประชุมใหญ่ ผมเดินไปดูสถานการณ์หน้าหอประขุมใหญ่ ตี 4 กว่าๆ เสียงปืนดังแผดก้องนัดหนึ่ง ลูกกระสุนตกลงกลางที่ชุมนุม นักศึกษาวิ่งหลบ โกลาหลครู่หนึ่งสงบ มีคนวิ่งมาบอกว่า มีคนตายและบาดเจ็บหลายคน กำลังพาไปห้องพยาบาล
ต่อมารู้กันว่า เป็นกระสุนปืนเอ็ม79 ยิงมาจากวัดมหาธาตุ ผมยังอยู่ที่เดิมหัวมุมสนามฟุตบอลเยื้องตึกคณะนิติศาสตร์ ตรงกันข้ามพิพิธภัณท์ อีกไม่นาน เสียงปืนรัวดังสนั่นมาจากด้านพิพิทธภัณท์เป็นชุดๆ ผมล้มลงหลบกับพื้นถนน ลูกกระสุนปลิวผ่านหัวราวห่าฝน ผมได้กลิ่นเลือด หันไปดูเห็นนักศึกษาที่นอนหลบบนฟุตบาทคนหนึ่งถูกกระสุนที่หัวเลือดกระจายสมองไหล
ตำรวจตระเวณชายแดนยังคงระดมยิงใส่ผู้ชุมนุมต่อไป นักศึกษาประชาชนวิ่งหลบกระสุนไปยังตึกคณะบัญชี ผู้อยู่ใกล้ตึกนิติศาสตร์ วิ่งไปหลบเต็มเฉลียงชั้นล่างของบนตึก ผมได้ยินเสียงตะโกน “พวกมันตายหมดแล้ว” ให้กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้านในสนามหลวงบุกเข้ามา ผมเห็นรถเมล์ขาวพังประตูเข้ามา เสียงปืนหยุดลงชั่วครู่ เปิดทางให้พวกนั้นที่ยึดรถเมล์ขาวบุกเข้าธรรมศาสตร์ ผมจึงลุกขึ้นวิ่งหนีไปทางคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ไปหลบอยู่คนเดียว จากพวกกระทิงแดงลูกเสือชาวบ้าน
บนเวที ธงชัย วินิจกุลพูดขอร้องตำรวจอย่ายิงนักศึกษา ตลอดเวลา
ผมเห็นกลุ่มคนที่บุกเข้ามา เข้ามาในตึก พากันเอาทรัพย์สินที่ถือได้ เช่น พัดลมโทรศัพท์ ออกไปเหมือนโจรปล้นบ้าน ในสนามหลวง เห็นตำรวจขู่เข็นให้นักศึกษาประชาชนถอดเสื้อนอนควำ กลุ่มลูกเสือชาวบ้านร้องเพลงหนักแผ่นดิน ประสานกับการคอกคำราม ต่อมา เป็นข่าวพวกนั้นทำร้าย เข่นฆ่า เอาผ้าผูกคอลูกเสือชาวบ้าน ผูกคอนักศึกษาลากลากจนตายคาสนามฟุตบอล ด้านหน้าหอประชุมใหญ่ นักศึกกลายคนถูกทุบตีเลือดเต็มหน้า ถูกจับไปแขวนกับต้นมะขามในสนามหลวงถูกทุบจนเสียชีวิต บางคนถูกเผากับยางรถยนต์อย่างโหดร้ายป่าเถื่อน นักศึกษาหญิงถูกข่มขืน บางคนถูกไม้เสียบอวัยวะเพศ
ผมหลบในตึกสังคมฯ สุดท้ายถูกจับในวันรุ่งขึ้น เวลา 11 นาฬิกากว่าๆ จึงได้รู้ว่า หัวค่ำของวันที่ 6 มีรัฐประหาร โดยคณะทหารที่เรียกตัวเอง ” คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า
ตอนเช้า สังหารหมู่ ตกค่ำ ยึดอำนาจรัฐ ล้มระบอบประชาธิปไตย ฟื้นระบอบเผด็จการทหาร แล้วก็เป็นเผด็จการขวาจัด อีกด้วย
ในโอกาศครบ 38 ปี ของกรณีนองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ผมขอรำลึกและสดุดีวีรชนที่พลีชีพ และผู้รอดชีวิตที่ถูกจับกุมคุมขังทุกคน การต่อสู้ของท่านเป็นสายธารหนึ่งของการต่อสู่เพื่อประชาธิปไตยวันนี้ แล้วก็ขอประนามผู้วางแผน คนสั่งการ และคนเข่นฆ่านักศึกษาประชาชนหลายร้อยคนและจับกุมเกือบ 3 พันคน ถึงวันนี้ฆาตกรโหดเหล่านี้ ก็ยังมีชีวิตอยู่เป็นส่วนใหญ่
ขอให้พวกนี้ พินาศ
# # # # #
1. การสูญเสียอำนาจผลประโยชน์และฐานะปกครองของเจ้า ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ นักธุรกิจนายทุนใหญ่เพราะความพ่ายแพ้ในกรณี 14 ตุลาคม 2516
2. ความหวาดกลัวการขยายตัวเติบใหญ่ของขบวนการนักศึกษา ประชาชน กรรมกร ชาวนาโดยเฉพาะขบวนการปฏิวัติ ที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
3. หวาดกลัวคอมมิวนิสต์หลังการปฏิวัติใน 3 ประเทศอินโดจีน เขมร เวียดนามและลาวในปี 2518
4. สังคมไทยแบ่งเป็นขวา ซ้าย ต่อสู้ทุกปริมลฑลทางการเมือง ความคิดอุดมการณ์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นเวลา 3 ปี
1. ขบวนการนักศึกษาและประชาชนมีภาพพจน์เป็นซ้าย ชนชั้นกลางไม่สนับสนุน ถูกทางการและขบวนการขวาพิฆาตซ้ายข่มขู่คุกคามปราบปราม จับกุม เข่นฆ่า แทบทุกเดือน
2. การโจมตีใส่ร้ายป้ายสีจากพรรคการเมืองและกลุ่มขวาจัดสื่อมวลชน โดยเฉพาะชมรมวิทยุเสรี 200 สถานี จนทำให้สังคมเชื่อว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์เป็นส่วนใหญ่
3. ฝ่ายขวา อ้างสถาบันกษัตริย์มาโจมตี โดยเฉพาะการแต่งหน้าผู้แสดงถูกแขวนคอคล้ายพระบรมโอรสาธิราช
4. ไม่มีข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์
1. มีผู้เสียชีวิตนับร้อย บาดเจ็บเกือบ 500 คน ถูกจับ 3,000 กว่าคน
2. เกิดรัฐประหาร ล้มระบอบประชาธิปไตยที่มาจากกรณี 14 ตุลาคม และมีการสถาปนาระบอบเผด็จการขวาจัด
3. ทำให้นักศึกษา ปัญญาชน ประชาชน เข้าป่าไปร่วมการต่อสู้ด้วยอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์
4. ชนชั้นปกครองเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกประนามจากทั้งในและนานาประเทศ จนต้องก่อรัฐประหารฟื้นระบอบประชาธิปไตย ความสามัคคีคนในชาติ
1. ชนขั้นปกครองเมื่อเผชิญกับการต่อสู้ของประชาชนอย่างขนานใหญ่ จะใช้วิธีการปราบปรามอย่างรุนแรงและเหี้ยมโหด
2. กลุมกึ่งทหาร (para-military) และมวลชนเมื่อถูกปลุกระดมทางความคิดจิตใจอุดมการณ์ จักสามารถทำลายล้าง สังหารอีกฝ่ายอย่างป่าเถื่อน เช่น เผาทั้งเป็น แขวนคอ
3. ในสภาพดุลย์กำลังต่างกันมาก จะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีจากข้อแข็งข้ออ่อน ฝ่ายเขาและฝ่ายเรา มิใช่เริ่มจากจุดยืน ความคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง และที่สำคัญจะต้องประเมินสถานการณ์ให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะพ่ายแพ้ได้ง่ายๆ
จรัล ดิษฐาอภิชัย
7 ตุลาคม 2557
อาลัยบันทึก ถึง ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
จากองค์การเสรีไทยฯ
————————-
ผมติดต่อกับท่านอภิวันท์ตลอดเวลานับตั้งแต่มีการประกาศกฎอัยการศึกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จนถึงขณะท่านกำลังเดินทางออกนอกประเทศอย่างใกล้ชิดจนถึงขณะป่วยเข้าห้อง ICU และยังติดตามอาการท่านทุกวันจนเสียชีวิตเมื่อ 22.38 น. วันที่ 6 ตุลา 57
ทุกครั้งที่ได้รับทราบผลสุขภาพของท่านดีขึ้น ผมก็ดีใจและภาวนาขอให้ท่านหายโดยเร็ว ด้วยท่านเป็นนักการทหาร นักประชาธิปไตยที่เป็นเพชรน้ำเอกของประเทศไทยและเป็นกำลังสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย แต่ข่าวอาการที่หนักขึ้นตลอดเวลาเดือนเศษจนเสียชีวิต ทำให้ผมมีความรู้สึกเจ็บปวดและชิงชังต่อระบอบอยุติธรรมของไทยที่กระทำกับประชาชนและตัวท่านอภิวันท์มากยิ่งขึ้นและเห็นว่าทางเดียวที่จะทำให้อุดมคติของท่านอภิวันท์ยังคงอยู่และวิญญานของท่านจะไปสู่สุขคติได้ก็ต่อเมื่อพี่น้องเราได้ร่วมใจกันต่อสู้กับระบอบเผด็จการอำมาตย์อย่างเด็ดเดี่ยว นำไทยไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ผมขอฝากผลงานท่านอภิวันท์คือการปราศรัยครั้งสุดท้ายที่ถนนอักษะเมื่อ 21 พค.57 เพื่อปลุกเร้าจิตใจที่สู้รบให้ลุกโชนตลอดไป
ปราศรัยครั้งสุดท้าย ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย ถนนอักษะ 21พค.57:
แด่ขุนพลอภิวันท์ท่านหาญกล้า
ประกาศท้าอัยการศึกอย่างฮึกเหิม
ที่อักษะวาระประวัติชาติประเดิม
คือจุดเริ่มประวัติใหม่ไทยเสรี
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
เลขาธิการองค์การเสรีไทย
6 ตุลาคม 2557
5 ตุลาคม 2519
วันนี้ เมื่อ 38 ปีที่แล้ว
5 ตุลาคม ก่อนวันสุกดิบ ตอนเช้าผมออกจากที่ชุมนุมไปข้างนอก แล้วกลับเข้าธรรมศาสตร์ตอนบ่าย โดยไม่ได้เห็นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และดาวสยามที่พาดหัวและลงภาพการแสดงแขวนคอ ที่สถานีวิทยุยานเกราะโหมกระพือข่าวปลุกระดมฝูง ให้ไปรวมตัวที่ลานพระรูปทรงม้าและสนามหลวง โดยบิดเบือนว่า นักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มิใช่มาขับไล่พระถนอม แต่เป็นพวกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นปฏิปักษ์กับสถาบันกษัตริย์
แต่อย่างไรก็ตาม ในที่ชุมนุม ยังมีนักศึกษาประชาชนหลายพัน และยังมีคนมาเพิ่ม แกนนำ ศนท.แถลงชี้แจง และเตรียมไปชี้แจงต่อนายกมนตรี บรรยากาศค่อยๆตึงเครียด เพราะมีข่าวกลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มมวลชนขวาจัดกำลังไปลานพระรูปทรงม้า บางส่วนกำลังมาที่สนามหลวง ตั้งแต่บ่าย 3 – 4 โมง มีคนไปแจกใบปลิวรูปแขวนคอ พร้อมข้อความโจมตีนักศึกษา
มีคนเสนอให้ผมออกจากที่ชุมนุม เพราะคาดว่า คืนนี้จะถูกปราบหรือรัฐประหารอย่างแน่นอน แต่ผมอยากอยู่กับพวกเขา ในต่างจังหวัด ประกาศนัดหยุดสอบ ส่วนหนึ่งจะมาสมทบที่ธรรมศาสต และสหภาพแรงงานหลายสิบแห่งมีมติให้รัฐบาลขับพระถนอมกลับออกไป
ใกล้ค่ำ เริ่มเห็นพวกกระทิงแดงที่สนามหลวง ได้ยินเสียงโห่ ระเบิดขวด ผู้ชุมนุมกระชับกันเหนียวแน่น การปราศรัยบนเวทีพยายามชี้แจงสถานการณ์ สองทุ่มกว่าๆ แกนนำประชุมกันว่าจะเอาอย่างไร ยุติการชุมนุมหรือเดินหน้าต่อ
พ.ท.อุทาร และผู้จัดรายการวิทยุยานเกราะประกาศเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปลดรัฐมนตรีบางคนและให้จับนักศึกษา โดยเฉพาะประกาศให้กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ไปล้อมธรรมศาสตร์ทางไหน ในขณะเดียวกันรองผู้บัญชาการตำรวจชายแดนผู้ก่อตั้งลูกเสือชาวบ้าน พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จรัสโรมรัน สั่งให้กองกำลังตำรวจฟังวิทยุยานเกราะ
ดึกเข้า พ.ท.อุทาร พูดออกรายการวิทยุสั่งให้กองกำลังตำรวจตระเวณชายแดนเข้าไปในพิพิทธภัณท์สถานแห่งชาติที่ติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้านหอประชุมใหญ่ ด้านสนามหลวงได้ยินเสียงปืนและระเบิดขวดเป็นครั้งคราว
ทางด้านแกนนำจัดชุมนุม กว่าจะตกลงว่าเลิกชุมนุมก็ดึก
ซึ่งไม่มีผลในทางปฏิบัติ ธรรมศาสตร์ถูกปิดล้อม
การให้คนกลับไปกลางดึกอันตรายมาก
จึงรอประกาศตอนเช้าตรู่ของวันที่ 6 ตุลาคม … แต่สายไปแล้ว
จรัล ดิษฐาอภิชัย
5 ตุลาคม 2557
วันที่ 4 ตุลาคม 2519
วันนี้ เมื่อ 38 ปีที่แล้ว
4 ตุลาคม 2519 เป็นวันที่ ศนท.นัดชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวง
เช้าวันนั้น นายกรัฐมนตรีเสนีย์ ปราโมช ให้สัมภาษณ์ว่า
รู้คนฆ่าแขวนคอที่นครปฐมแล้ว เป็นตำรวจ
เข้าช่วงบ่ายนักศึกษาชมนุมการละคอนธรรมศาสตร์แสดงคนถูกแขวนคอที่ลานโพธิ์ 3 ชั่วโมงต่อมา สถานีวิทยุยานเกราะเริ่มออกข่าวใส่ร้ายว่า คนที่แสดงถูกแขวนคอหน้าละม้ายพระบรมโอรสาธิราช
การชุมนุมในสนามหลวงเริ่มขึ้น นักศึกษาและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทยอยมาร่วมหลายพันคน ในต่างจังหวัด นักศึกษาเชียงใหม่เกือบพันเดินขบวนเข้าไปในเมือง ฝ่ายขวาจัด ทั้งวิทยุและหนังสือพิมพ์โจมตีนักศึกษาอย่างหนักตั้งแต่เช้า
บ่าย กลุ่มกระทิงแดงเอารถตั้งเครื่องขยายเสียงโจมตีการชุมนุม อ้างชาติ ศาสนา และกษัตริย์ แต่ไม่มีแนวโน้มปะทะกัน
ตกค่ำ ฝนตก หนักขึ้นๆ แกนนำตัดสินใจย้ายผู้ชุมนุมเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการรักษาความปลอยภัยอย่างเข้มงวด และพยายามหาข่าว ส่วนใหญ่ใช้วิทยุดักฟังและวิทยุคลื่นสั้น ฟังวิทยุยานเกราะกัน พอได้รู้ว่า ยานเกราะเริ่มใช้ละคอนแขวนคอมาโจมตี และมีการระดมลูกเสือชาวบ้านและตำรวจตระเวณชายแดนเข้ากรุงเทพฯ
ผมเอง ตามแผนต่อต้านรัฐประหาร ต้องไม่ไปชุมนุม
แต่ด้วยความเคยชินและเป็นห่วง ผมไปร่วมตั้งแต่ต้นที่สนามหลวง
แล้วตามเข้าธรรมศาสตร์ด้วย และอยู่จนสว่าง
บรรยากาศคืนนั้นบรรยากาศยังไม่ตึงเครียด
ในการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ส่วนใหญ่คิดว่า
จะไม่มีรัฐประหารหรือการปราบปราม
ด้วยไม่รู้ว่า ทหารกลุ่มใดวางแผนจะทำ
การอภิปรายบนเวทีเน้นการโจมตีจอมพลถนอมและกลุ่มขวาจัด และให้ผู้ชุมนุมเตรียมความคิดจิตใจเผชิญกับเหตุร้าย ต่อต้านรัฐประหาร ผู้นำนักศึกษา สุธรรม แสงประทุม พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ธงชัย วินิจกุล สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ฯลฯ ขึ้นปราศรัยสลับกับดนตรีเพลงเพื่อชีวิต จนสว่าง
ทุกคนไม่รู้ว่า หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และดาวสยาม กำลังตกแต่งภาพคนแสดงแขวนคอให้เหมือนกับเจ้าฟ้าชาย ตีพิมพ์หน้าหนึ่งฉบับวันที่ 5 ตุลาคม จุดชนวนกรณีนองเลือด 6 ตุลาคมในวันต่อมา
จรัล ดิษฐาอภิชัย
4 ตุลาคม 2557