30 กันยายน 2519

10608707_1540733089497058_2315965730099388658_o

30 กันยายน 2519

วันนี้ เมื่อ 38 ปีที่แล้ว

นักศึกษาประชาชนผู้รักประชาธิปไตย จัดชุมนุมที่สนามหลวง เพื่อต่อต้านการกลับเข้ามาของจอมพลถนอม กิตติขจร โดยชูคำขวัญ “ต้านแผนรัฐประหาร ฟื้นระบอบเผด็จการ” แต่จุดมุ่งหมายเบื้องหลัง เพื่อทดลองหยั่งดูสถานการณ์ว่า จะมีคนมาร่วมมากไหม และฝ่ายขวาจัดจะก่อกวนอย่างไร ด้วยก่อนหน้านั้น มีการทำร้ายนักศึกษา ที่ไปปิดใบปลิว การสังหารโหดพนักงานไฟฟ้าภูมิภาค นครปฐม ฆ่าแล้วแขวนคอหน้าโรงงาน และชมรมวิทยุเสรี ๒๐๐ สถานี นำโดยยานเกราะโหม โจมตีขบวนการนักศึกษาประชาชนว่า เป็นคอมมิวนิสต์ ทำลายชาติ ศาสนา และกษัตริย์ แล้วก็มีแผนก่อรัฐประหาร 

การชุมนุมวันนั้น ผ่านไปด้วยดี แต่นักศึกษาประชาชนมาร่วมไม่มาก ฝ่ายขวาปล่อยงูเลื้อยเข้าที่ชุมนุม แต่ไม่ใช่งูพิษ แกนนำที่ประกอบด้วยผู้นำนักศึกษา และขบวนการประชาชน ยังคงเดินหน้าอย่างระมัดระวัง กลัวจะเข้าแผนสร้างสถานการณ์ก่อรัฐประหาร

ทางด้านการเมือง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ลาออกจากนายกรัฐมนตรี เพราะไม่พอใจที่ ส.ส. วีระ มุสิกพงษ์ อภิปรายโจมตีในสภา แต่ ม.ร.ว.เสนีย์ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีก และกำลังตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่

ฝ่ายประชาธิปไตย เสนอมิให้เอาพรรคชาติไทย พรรคขวาจัด มาร่วมรัฐบาล แต่สุดท้าย ก็เข้ามาร่วมอีก ลือกันว่า มีคนสั่งมา แต่ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์อ้างว่า ได้รับมูลใหม่

แกนนำขบวนการนักศึกษาและประชาชน ร่วมกันติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ จนในที่สุด ตัดสินใจจัดชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 4 ตุลาคม 2519 อีก ดังจะเล่าต่อไป

จรัล ดิษฐาอภิชัย
30 กันยายน 2557

ระลึก นวมทอง ไพรวัลย์

10710230_1536232226613811_4597887613164596839_o

8 ปีที่แล้ว ชายผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า เกิดชาติหน้า ขออย่าได้เจอรัฐประหารอีกเลย แล้วเขาก็จากไป… สละชีพเพื่อให้คนไทยทั้งชาติได้รับรู้

และเพื่อที่จะไม่ต้องพบเจอรัฐประหารอีกครั้งเช่นทุกวันนี้!

๘ ปี รัฐประหารของคมช. กับประชาคมโลก

10600658_1536190369951330_7774778384211167582_n

บทความจากสมาชิกองค์การเสรีไทย

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

๘ ปี รัฐประหารของคมช. กับประชาคมโลก

โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย

ผมยังจำได้วันที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ต่อมาเปลี่ยนชื่อ เป็น คณะมนตรีรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ผมกำลังนั่งรถไฟใต้ดินที่ปารีส ได้รับข้อความจากเพื่อนในกรุงเทพ รู้สึกตื่นเต้นหน่อยหนึ่ง โทรศัพท์ถามข่าวไปมาหลายครั้ง กลับถึงบ้านค่ำๆ เปิดอินเตอร์เน็ต อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทย ก็รู้รายละเอียดมากขึ้น และที่สำคัญ ข่าวมีการตั้งเครือข่าย๑๙ กันยายน ต่อต้านรัฐประหารดังกล่าว มีสมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นคนริเริ่ม ซึ่งนับเป็นรัฐประหารครั้งแรกที่คนลุกขึ้นมาต่อต้านทันที รุ่งเช้า หนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศสเกือบทุกฉบับรายงานข่าวเหตุการณ์นี้ น.ส.พ.เลอมงด์(Le Monde) ยักษ์ใหญ่ พาดหัวรองว่า “ เกิดรัฐประหารในประเทศไทย ไม่นองเลือด ” และเป็น King coup ลักษณะหลังนี้ ทำให้ความขัดแย้งระหว่างคนเสื้อแดงกับเหลืองขยายตัวและยกระดับ จนนำมาสู่รัฐประหารครั้งหลังสุด ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ นี่เป็นท่าทีของสื่อต่างประเทศหนึ่งต่อรัฐประหารของคมช. แต่ระดับรัฐบาลนานาชาติต่อรัฐประหารครั้งนั้น เท่าที่ผมเห็นมีเพียง ๓ ประเทศเท่านั้นที่ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา และฟิลิปินส์ ส่วน อียู แถลงสั้นๆ แสดงความกังวล และหวังว่า คมช.จะคืนประชาธิปไตยโดยเร็ว แต่ ๘ ปีต่อมา ประชาคมโลกแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อรัฐประหารในประเทศไทย

เมื่อกลับประเทศไทยในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๙ สองวันต่อมา ผมไปร่วมอภิปรายต่อต้านรัฐประหารที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ร่วมกับครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ประวิทย์ โรจนพฤษก ผมขึ้นต้นว่า ผมเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่มีกรรมการสิทธิมนุษยชนที่ใหนในโลกเห็นด้วยกับรัฐประหาร เพราะการล้มรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชทั่วประเทศทันที คือ สิทธิกำหนดใจตนเอง จะให้ใครบริหารประเทศ ต้องการระบอบการปกครองแบบใด ต่อมา ถุกละเมิดเสรีภาพแสดงความคิดเห็น การพูดเขียน การพิมพ์การโฆษณา การชุมนุม เดินขบวน ฯลฯ จากนั้น ผมชี้ว่า การยึดอำนาจ ๑๙ กันยายน เป็นรัฐประหารสำเร็จครั้งที่๑๑ (ไม่สำเร็จอีก๑๐ กว่าครั้ง ) แม้จะไม่นองเลือด แล้วก็พระมหากษัตริย์ลงนามโปรดเกล้าตั้งพล.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร แต่มันได้โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และหยุดการดำเนินระบอบประชาธิปไตยไปอีกครั้ง ทำให้ประชาธิปไตยไม่ลงหลักปักฐานบนผืนแผ่นดินไทยเสียที จำได้ว่า มีคนหนึ่งยกมือขึ้นแสดงความคิดเห็นให้นักศึกษา อาจารย์และกรรมการสิทธิฯนำประชาชนผู้รักประชาธิปไตยต่อต้านรัฐประหาร คนนั้น คือ ชินวัตร หาบุญพาด ต่อมา เป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปก)

จากวันนั้น ผมเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร ในฐานะเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผมได้พบปะกับทูตานุทูต เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ และสื่อมวลชนต่างประเทศ อยู่เสมอ และได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลเหล่านั้น ส่วนใหญ่มีความคิด และท่าทีต่อรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ไม่ชัดเจน คงเป็นมารยาททางการทูต แต่จับได้ว่า ยังมีความคิดติดใจรัฐบาลที่ถูกโค่นล้มไป ในช่วงชุมนุมต่อต้านคมช.และรัฐบาลเผด็จการของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่สนามหลวง ๗๕ วัน ในปีต่อมา ผมพบบรรดาทูต เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ อาทิ สหภาพยุโรป (European Union-EU ) ในงานวันชาติของประเทศต่างๆเช่น งานวันชาติ อเมริกา ๔ กรกฎาคม งานวันชาติฝรั่งเศส วันครบรอบ๘๐ พรรษาของกษัตริย์หญิงอังกฤษ ฯลฯ ท่าทีของท่านทั้งหลายยังไม่เปลี่ยนเท่าใหณ่ ยกเว้นประเทศเล็กๆ เช่น อาเย็นตินา สาธารณรัฐเชค โปแลนด์ ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารและเผด็จการ

๒๖ กันยายน ๒๕๕๐ สภานิติบัญญัติแห่งชาติของคมช.ถอดถอนผมจากเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้นเดือนธันวาคม ปีนั้น ผมเดินทางไปร้องเรียนต่อหน่วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชน(Office of the High Commissioner for Human Rights) สหประชาชาติ ณ.กรุงเจนีวา เจนีวา และไปบรัสเซล พบผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่อียูด้านประเทศไทย รวมทั้งพบผู้อำนวยการฝ่ายเอเซีย สหพันธ์สากลเพื่อสิทธิมนุษยชน (International Federation for Human Rights) ที่ปารีส คาดอยู่แล้วว่า คนต่างประเทศ ไม่เฉพาะใน๓ องค์การจะไม่เข้าใจสถานการณ์รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ผมจึงเขียนบทความ “ ช่วยเข้าใจสถานการณ์ประเทศไทย “ นำติดตัวไปแจกจ่าย

ในบทความชิ้นนั้น ผมชี้ว่า จะเข้าใจรัฐประหารและสถานการณ์ประเทศไทย จะต้องย้อนกลับไปถึงรัฐบาลทักษิณเมื่อ ๖ ปีก่อน รัฐบาลดังกล่าวนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศไทย เป็นรัฐบาลที่มีนโยบายก้าวหน้าและปฏิบัติได้จริง คณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินและสั่งข้าราชการได้จริง ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศกระเตื้อง เจริญเติบโต แก้ปัญหาของประชาชนคนยากคนจนเป็นลำดับ ทำให้ประชาชนนิยมดร.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี รัฐบาล และพรรคไทยรักไทย แต่ขณะเดียวกัน พรรคฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีบทบาท ชนชั้นสูงหวาดกลัว ข้าราชการ ทหาร นักธุรกิจนายทุน นักวิชาการ เอ็น จี โอ และคนชั้นกลางไม่พอใจ เข้าสมัย ๒ กลุ่มเหล่านี้รวมตัวกันโดยมีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นหัวหอกเคลื่อนไหวขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณอย่างขนานใหญ่ติดต่อกัน๒ เดือน บนสถานการณ์การเคลื่อนไหวของพันธมิตร และบรรดาศาล และองค์การอิสระโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอาญา ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมวงยกเลิกผลการเลือกตั้งทั่วไป ๔ เมษายน ๒๕๔๘ กองทัพกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๔๐ และล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย
สถานการณ์รัฐประหารครั้งนี้มีสภาพที่ไม่เคยมีมาก่อน คือ ปัญญาชน คนชั้นกลางกว่าร้อยละ๗๐ เห็นด้วย เพราะเห็นว่า เป็นวิธีการเดียวขับไล่รัฐบาลทักษิณ นับไม้เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก เพราะในทุกประเทศ(รวมทั้งประเทศไทยก่อนหน้านี้) คนชั้นกลาง และปัญญาชน เป็นพลังประชาธิปไตย และคมช. ชูคุณธรรม ศีลธรรม และเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอุดมการณ์ แต่อีกด้านหนึ่ง เป็นรัฐประหารที่มีคนลุกขึ้นมาต่อต้านทันที ไม่เหมือนครั้งก่อน รัฐประหารครั้งที่๒ ของจอมพลของสฤษดิ์ ธนะรัชต รอจนตาย ประชาชนกล้าต่อต้าน รัฐประหารของคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ( รสช.)เมื่อวันที่๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ต้องรอ ๘ เดือนจึงเกิดกระแสต่อต้าน

เจ้าหน้าที่องค์การดังกล่าว รวมทั้งทูตานุทูตมักแสดงความคิดเห็นว่า รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ไม่นองเลือด ไม่กวาดล้าง จับกุม หรือเข่นฆ่าประชาชนเหมือนในประเทศอื่นๆ ผมบอกว่า รัฐประหารที่สำเร็จในประเทศไทยไม่เคยนองเลือด ให้เห็นเลือดหรือ ประชาคมโลกจึงมีท่าทีประนาม และที่สำคัญ รัฐบาลประเทศต่างๆไม่อยากแสดงท่าที เพราะเป็นรัฐประหารที่รับรองโดยกษัตริย์ ผมบอกว่า ในรัชกาลของพระองค์ มีรัฐประหารมาแล้ว๑๐ ครั้ง ไม่มีปัญหาเลย แล้วอย่างไง ผมถามพวกเขา เพราะรัฐหาร แม้ไม่ปราบปรามอย่างนองเลือด แต่มันล้มระบอบประชาธิปไตย สถาปนาระบอบเผด็จการทหาร จำกัดสิทธิ เสรีภาพ และควบคุมพลเมือง ท่านคิดเห็นอย่างไร

ปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๕๑ ช่วงที่พันธมิตรฯยึดทำเนียบรัฐบาล ผมไปสหรัฐอเมริกา เขียนบทความรัฐประหารโดยตุลาการ(judicial coup d’etat)ไปแจกคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ ของวุฒิสภา องค์การประชาธิปไตยและองค์การสิทธิมนุษยชนที่นั่น ผมคาดว่า จะเกิดรัฐประหารโดยตุลาการในไม่ช้านี้ แล้วก็จริง ๙ กันยายน ศาลรัฐธรรมนูญชี้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของท่านล้มลง ปลายเดือนพฤศจิกายนในรัฐบาลสมชาย ผมไปพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยของอียู จากนั้น ผมไปเยอรมัน เพื่อพบเจ้าหน้าที่สมาชิกรัฐสภา ผู้อำนวยการกองนโยบาย กระทรวงต่างประเทศ และสื่อมวลชน วันไปถึงเบอร์ลิน พันธมิตรไปปิดสนามบินสุวรรณภูมิ รุ่งเช้าหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่รายงานข่าว และภาพกลุ่มพันธมิตรเสื่อเหลืองชูธงชาติปิดสนามบิน พาดหัว “ เกิดการปฏิวัติในประเทศไทย “ ผมบอกกับคนที่นั่นว่า ไม่ใช่การปฏิวัติ หากเป็นพวกอนุรักษ์นิยม เอียงไปในทางฟาสซิสต์ และจงรักภักดี เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีก สุดท้าย วันที่๒ ธันวาคม เกิดรัฐประหารโดยตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชน ล้มรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลงไป ประชาคมโลก ก็ไม่ได้สนใจ เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องของศาล

ช่วงนั้น ผมจึงได้ข้อสรุป ทำไมประชาคมโลกจึงไม่วิตกกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศไทย ดังนี้

๑. ประเทศไทยไม่เคยมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศเลย คนไทยไม่เคยมีตำแหน่งสำคัญในองค์การระหว่างประเทศ เพิ่งได้ตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การค้าโลก เพราะฉนั้น จะทำให้ประชาคมโลกเห็นความสำคัญของประเทศไทยได้อย่างไร

๒ . สถานการณ์ในประเทศไทยที่ผ่านมา ไม่ช๊อคโลก ไม่รุนแรงเหมือนในประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม กัมพูชา พม่า อินโดนีเซีย

๓. ประชาคมโลกยังค้างคาใจรัฐบาลดร.ทักษิน แทนที่ติดใจรัฐประหาร

๔. ฝ่ายเรา ทั้งรัฐบาล พรรคไทยรักไทย ต่อมา เป็นพรรคพลังประชาชน และนปช.มีคนทำงานต่างประเทศไม่กี่คน

ทำรัฐประหาร 49 “เสียของ” อำมาตย์จึงต้องปล้นซ้ำ ปี 57

10153663_1536115379958829_4421043664453768999_n

บทความจากแนวร่วมขององค์การเสรีไทย

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ทำรัฐประหาร 49 “เสียของ” อำมาตย์จึงต้องปล้นซ้ำ ปี 57
โดย สุดา รังกุพันธุ์
ออกมายอมรับกันอย่างไร้ยางอายในหมู่ผู้ร่วมปล้นชาติ เมื่อ 19 กันยา 2549 ว่ารัฐประหาร 8 ปีก่อนนั้น เป็นการรัฐประหารที่ “เสียของ” โดยเฉพาะโจรกบฏระดับนำอย่าง ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับอัปยศ ปี 50 วาทะ “เสียของ” ถูกตอกย้ำโดย โจรกบฏระดับลูกน้องประสงค์ อย่าง สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อัปยศ 50 ที่ออกมาให้สัมภาษณ์ด้วยนัยยะเดียวกัน แต่เปลี่ยนไปใช้คำตามวัจนลีลาดัดจริตว่า “สูญเปล่า”
ประเด็นที่เหล่าสมุนโจรกบฏรุ่น 49 เห็นว่าเป็นการเสียของอย่างมาก ก็คือ การที่คณะโจรกบฏรุ่น 49 ไม่สามารถ “กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย” มากพอ ทำให้กลับมาทวงคืนอำนาจส่วนหนึ่งกลับไปได้สำเร็จหลายต่อหลายครั้ง
คำพูดและความคิดดังกล่าว ได้สะท้อนความโหดเหี้ยมอำมหิตของอำมาตย์อย่างชัดเจน การสูญเสียชีวิตของประชาชนมากมาย ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่ผ่านมา ดูเหมือนยังไม่สามารถกระตุกต่อมสำนึกของเผด็จการอำมาตย์เหล่านี้ได้
31 ตุลาคม 2549 “นวมทอง ไพรวัลย์” กระทำการสละชีพ เพื่อยืนยันให้โลกรู้ว่าประชาชนยอมสละชีพได้เพื่อประชาธิปไตย ได้ทำลายมายาภาพของรัฐประหารที่ไม่เสียเลือดเนื้อ (bloodless coup) ที่โจรกบฏและสมุน 49 อัดเงินภาษีประชาชนให้ทีมโฆษณาชวนเชื่อตระเวนไปตามประเทศสำคัญๆ เพื่อกล่อมให้ผู้นำประเทศหลงเชื่อว่าคนไทยยินดีต้อนรับการปล้นอำนาจครั้งนั้นเป็นอย่างดี
กระแสการต่อต้านรัฐประหาร 49 ได้ก่อตัวและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนฝ่ายโจรกบฏจำเป็นต้องทำตามขั้นตอนการคืนอำนาจให้ประชาชน นำมาซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา แต่เมื่อประชาชนได้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองเดิมที่ถูกปล้นอำนาจไปเมื่อปี 49 ฝ่ายอำมาตย์ก็ได้พยายามก่อสงครามมวลชนขึ้น จนเกิดการล้มรัฐบาลของประชาชน โดยการสมรู้ร่วมคิดของ “ขบวนการตุลาการวิบัติ” ตลอด 8 ปี ที่ผ่านมา การใช้สงครามมวลชนร่วมกับตุลาการวิบัติ หลายกลุ่ม หลายรอบ มาจนโจรกบฏก็ได้เข้ามาปิดเกม “ปล้นอำนาจซ้ำ” อีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภา 57
ตลอด 8 ปี ที่ผ่านมา การกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งโดยการล้อมฆ่าโดยกองกำลังทหารหลายหมื่นนาย ใช้อาวุธและกระสุนหลายแสนนัด ในเหตุการณ์ 10 เมษา 53 และพฤษภา 53, การกราดยิงใส่ประชาชนในวัดปทุมวนาราม เมื่อ 20 พฤษภา 53, การไล่ยิงผู้ชุมนุมในปี 52, การลอบสังหาร กรณีเสธ.แดง และไม้หนึ่ง ก.กุนที, การอุ้มฆ่า กรณีคนเสื้อแดงหลายราย หลังราชประสงค์แตก, และการอุ้มหาย และการตายอย่างมีเงื่อนงำอีกมากมายของคนเสื้อแดง ตลอด 8 ปี ที่ทำให้จำนวนศพไม่มีญาติเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดสังเกต

นี่ยังไม่นับรวมถึงการสูญเสียชีวิตประชาชนของทุกฝ่าย จากการที่โจรกบฏได้การใช้ทหารนอกเครื่องแบบปะปนเป็นผู้ชุมนุม ฝึกฝนและติดอาวุธให้การ์ด ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมยึดสะพานมัฆวาน ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ปี 2551 หรือการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ (Shut Down Bangkok) ปี 2556-57 ซึ่งชัดเจนว่าได้มีการใช้ทหารติดอาวุธปะปนทำตัวเป็นผู้ชุมนุม ที่พร้อมจะยั่วยุให้เกิดการปะทะ หรือทำร้ายเข่นฆ่าเจ้าหน้าที่หรือประชาชนในฝ่ายรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ดังที่ได้เกิดความสูญเสียกับ “ณรงศักดิ์ กรอบไธสง” หรือถึงแก่อัมพาต กรณี “ลุงอะแกว” รวมทั้งความสูญเสียจากการปะทะอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกรณี “โบว์ อังคณา” และผู้ชุมนุมพันธมิตร, กปปส. และกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องเข้าเสี่ยงชีวิตระงับเหตุต่างๆ

ความสูญเสียมากมายของชีวิตพี่น้องประชาชนหลายร้อยชีวิต บาดเจ็บหลายพันคน ส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดและครอบครัวนับหมื่นคน ที่กล่าวมานี้ยังไม่ใช่ข้อมูลตัวเลขที่สมบูรณ์ เช่นนี้ ยังเรียกว่า กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ไม่มากพออีกหรือ? เผด็จการอำมาตย์ยังกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตยและทำลายชีวิตประชาชนไม่มากพอจนถึงกับสรุปว่ารัฐประหาร 49 เป็นเรื่องเสียของกระนั้นหรือ?
แม้การตายและบาดเจ็บจะมากมายเพียงนี้แล้ว ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดของการกวาดล้างของเผด็จการอำมาตย์ “การตีตรวน” ประชาชนหลายพันคน การล่ามฝ่ายประชาธิปไตยไว้กับคดีการเมืองมากมายตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความสูญเสียทั้งที่ถึงแก่ชีวิต อย่างกรณี อากง, วันชัย, สุรกริช และนักโทษการเมืองอีกหลายคนที่เสียชีวิตไม่นานหลังได้รับอิสรภาพ จากการใช้ชีวิตในคุกไทย ที่มีสภาพเป็นการซ้อมทรมานผู้ต้องขัง โดยเฉพาะกับผู้ที่ยากจน

เฉพาะในปี 2553 เผด็จการอำมาตย์ได้กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ด้วยการจับกุมดำเนินคดีทางการเมืองกับกลุ่มคนเสื้อแดงมากถึง 1,857 คน ไม่ใช่เฉพาะจำนวนที่มากมาย แต่วิธีการที่เผด็จการอำมาตย์รวมหัวกับ “ขบวนการตุลาการวิบัติ” บังคับใช้กฎหมายอย่าง 2 มาตรฐาน ตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุม การตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรงเกินจริง การปิดกั้นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม การไม่ให้สิทธิประกันตัว การใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมกับจำเลยฝ่ายประชาธิปไตย ไปจนถึงการลงโทษทัณฑ์อย่างไร้ความปราณี กรณีคนเสื้อแดงชุมนุมที่ศาลากลางอุบลราชธานี และเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ในปี 53 ถูกจับกุม ดำเนินคดีหลายสิบคน และบางคดีถูกพิพากษาจำคุกสูงถึง 34 ปี

ความเลวร้ายของขบวนการตุลาการวิบัติ ที่สมรู้ร่วมคิดกับเผด็จการอำมาตย์ เป็นที่ประจักษ์จนตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายประชาธิปไตยหลายร้อยคน ตัดสินใจลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่นอกประเทศไทย

และการกวาดล้าง ที่ยังไม่เคยเห็นการรวบรวมข้อมูลตัวเลข คือ การทำให้สูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน โอกาสทางธุรกิจ การต้องออกจากสถานศึกษากลางครัน และความเสียหาย ที่ยังไม่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ

จากที่กล่าวมานี้ ตลอดระยะเวลา 8 ปี ฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ ได้ใช้ความเหนือกว่าในกลไกอำนาจรัฐ ที่มีอำนาจกองทัพหนุนหลัง หรือออกหน้า ร่วมกับอิทธิพลทางเครือข่ายอนุรักษ์นิยม ทำให้กลุ่มทุนหลายกลุ่มที่ร่วมสนับสนุนการปล้นชาติ ทำลายประชาธิปไตย ของฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ เครือข่ายเหล่านี้ ได้ร่วมกัน “กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย” ในหลายรูปแบบ สร้างความเสียหายมากมายมหาศาล

เช่นนี้ ยังเรียกว่า กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ไม่มากพออีกหรือ? เผด็จการอำมาตย์ยังกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตยและทำลายชีวิตประชาชนไม่มากพอจนถึงกับสรุปว่ารัฐประหาร 49 เป็นเรื่องเสียของกระนั้นหรือ?

หรือว่า การตาย บาดเจ็บ ติดคุก ลี้ภัย เสียอาชีพ สิ้นเนื้อประดาตัว ฯลฯ ยังไม่สาแก่ใจของฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ เพราะแม้จะสูญเสียมากมายเช่นนี้ ประชาชนก็ยังคงลุกขึ้นต่อสู้ทวงคืนอำนาจอธิปไตยอันเป็นของพวกเขาโดยชอบธรรม ครั้งแล้วครั้งเล่า จนดูเหมือนจะทำให้ฝ่ายโจรกบฏขัดเคืองใจ ไม่เว้นแม้แต่โจรกบฏในคราบอาจารย์ นักวิชาการ ผู้บริหารอุดมศึกษา อันสูงส่ง “สมคิด เลิศไพฑูรย์” ที่หลุดคำพูดเดียวกับหัวหน้าเก่า “ประสงค์ สุ่นศิริ” ที่ร่วมกันร่างกฎโจร ปี 50 ออกมาว่า “บทเรียนจากรัฐประหารเมื่อปี 2549 ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาอะไร หลายคนก็บ่นว่าเสียดายของ”

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ยังรำพึง “เสียดายของ” แต่ไม่เอ่ยแม้น้อยนิดถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชนหลายหมื่นหลายแสนคน ตลอด 8 ปีที่ผ่านมาจากการกวาดล้างของโจรกบฏ 49 ทั้งนี้ยังไม่ได้กล่าวถึง ความเสียหายต่อระบอบประชาธิปไตย ที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในชาติ และเพื่อนบ้านในภูมิภาค

และสิ่งที่สมุนโจรกบฏ 49 ดาหน้ากันออกมาย้ำว่าการปล้นอำนาจเมื่อปี 49 เป็นการเสียของ ขณะที่คนพวกนี้ช่วยกันผลักดันให้เกิดการปล้นอำนาจซ้ำอีกครั้งในปี 57 เขาก็ช่วยกันตอกย้ำให้การปล้นในรอบนี้ ต้องใช้อำนาจกับฝ่ายประชาธิปไตยให้เต็มที่

นั่นคือ ต้องกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตยให้สิ้นซาก!

สิ่งที่เผด็จการอำมาตย์ ควรทบทวนบทเรียน 8 ปี นี้ คือ

เหตุใดกองทัพและอำมาตย์ทั้งเครือข่าย ใช้อำนาจรัฐและเหนือรัฐกวาดล้างฝ่ายประชาชนมากมายเพียงนี้ จึงยังมีประชาชนลุกขึ้นต่อสู้ทวงคืนอำนาจอันชอบธรรมของพวกเขาอย่างไม่เสียดายชีวิต มากขึ้น ขยายวงกว้างขึ้น และกล้าแข็งขึ้นทุกที และควรเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ประชาชนจะไม่ปล่อยให้อำนาจของเขาถูกปล้นตลอดไป !!!

ภาพโปรไฟล์แสดงจุดยืนไม่ยอมรับการรัฐประหาร

10270286_1536035343300166_3463568288063314188_n

ขอเชิญทุกท่าน เปลี่ยนภาพโปรไฟล์ใน FACEBOOK และ LINE
เพื่อแสดงจุดยืนไม่ยอมรับการรัฐประหารในประเทศไทย
และยืนยันว่า ท่านไม่สนับสนุนการทำรัฐประหาร
เพราะ ‪#‎รัฐประหารคือการล้มอำนาจประชาชน‬